
ฟันปลอม สิ่งสำคัญเพื่อคุณภาพชีวิต และรอยยิ้มที่มั่นใจ
ฟันมีบทบาทสำคัญต่อการใช้ชีวิตของเรา ช่วยให้เราสามารถเคี้ยวอาหาร พูดคุย และแสดงรอยยิ้มที่สดใส แต่เมื่อฟันสูญเสียไป ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม ฟันปลอม ก็เข้ามามีบทบาททดแทนฟันธรรมชาติ ช่วยให้เรากลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
บทความนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับฟันปลอมอย่างละเอียด ตั้งแต่ประเภท ข้อดี ข้อเสีย การดูแลรักษา ไปจนถึงคำแนะนำในการเลือกฟันปลอมที่เหมาะสม เพื่อให้คุณกลับมามีรอยยิ้มที่มั่นใจอีกครั้ง

ฟันปลอม คืออะไร
ฟันปลอม (denture) คือ วัสดุที่สร้างขึ้นเป็นฟันเทียมเพื่อใช้ทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป โดยมีหลายชนิด แล้วแต่อาการและความเหมาะสมของผู้ต้องการฟันทดแทน ฟันปลอมสามารถทำได้ทั้งในกรณีฟันหายเพียง 1 ซี่ หลายซี่ หรือกรณีฟันปลอมทั้งปาก รวมถึงอาจเกี่ยวถึงรากฟันหรือเหงือกด้วย
ประเภทของฟันปลอม
ฟันปลอมมีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในแต่ละเคส จำนวนฟันที่สูญเสีย และงบประมาณ โดยประเภทที่พบบ่อย มี 2 ลักษณะ ได้แก่

1. ฟันปลอมแบบถอดได้ (Removable Dentures):
ฟันปลอมทั้งปาก:
ฟันปลอมบางส่วน
ข้อดีของฟันปลอมถอดได้
- ราคาฟันปลอมถูกที่สุดในฟันปลอมทุกรูปแบบ
- ไม่ต้องผ่าตัด(ยกเว้นในกรณีมีปุ่มกระดูกใหญ่)
- สามารถทำความสะอาดฟันปลอมได้ง่าย
- ใช้เวลาทำไม่นาน
- ใส่ได้หลายซี่ หรือทั้งปาก
- ฟันปลอมฐานโลหะจะมีอายุยาวนานกว่าแบบฐานพลาสติก
ข้อเสียของฟันปลอมถอดได้
- รู้สึกรำคาญขณะใส่เพราะมีส่วนเพดานปากที่ติดกับฟันปลอม รวมถึงขณะพูด หรือเคี้ยวอาหาร
- แรงบดเคี้ยวต่ำกว่าฟันปลอมแบบติดแน่น เพราะแรงลงบนเหงือก
- เวลายิ้มอาจจะเห็นอุปกรณ์ช่วยเกี่ยวฟันปลอมโผล่ออกมาได้บ้าง
- ในฟันปลอมฐานพลาสติก อาจจะดูดสีและกลิ่นจากอาหารที่รับประทาน
- ฟันปลอมฐานพลาสติกอายุการใช้งานจะน้อยกว่าแบบโครงโลหะ
- อาจพบการเจ็บเหงือกได้หลังใส่ในช่วงแรก
2. ฟันปลอมแบบติดแน่น (Fixed Dentures):
ครอบฟัน
สะพานฟัน
รากฟันเทียม
คือการเปรียบเสมือนปลูกฟันลงไปใหม่ภายในช่องปากทดแทนฟันที่สูญเสียไป สามารถทำได้ตั้งแต่การทดแทนรายซี่ฟันที่หายไป สะพานฟันบนรากเทียม รากเทียมที่ช่วยยึดติดฟันปลอมถอดได้ ไปจนถึงสะพานฟันทั้งปากที่รองรับด้วยรากเทียม จะเห็นได้ว่ารากเทียมมีความหลากหลายในการรักษามาก อีกทั้งค่าใช้จ่ายที่ลดลงเมื่อเทียบกับสมัยก่อน จึงเป็นการรักษาที่นิยมขึ้นอย่างมากในปัจจุบัน ดู รากฟันเทียม
ข้อดีของฟันปลอมติดแน่น
- การบดเคี้ยวอาหารดี เพราะทำหน้าที่คล้ายฟันจริง
- แข็งแรงทนทาน
- ลักษณะรูปร่างฟันคล้ายธรรมชาติฟันจริงมากกว่าแบบถอดได้
- ไม่รำคาญจากการสวมใส่ที่จะมีอุปกรณ์ยื่นมาโดนเพดานปาก
- สันเหงือกจะไม่ยุบตัวในกรณีเป็นรากฟันเทียม
- ไม่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปรับตัว เนื่องจากคล้ายฟันจริง
- อายุการใช้งานยาวนาน
ข้อเสียของฟันปลอมติดแน่น
- ราคาแพงกว่าฟันปลอมถอดได้
- ในการทำสะพานฟันต้องมีการกรอเนื้อฟันข้างเคียงออก จึงสูญเสียเนื้อฟัน
- เนื่องจากคล้ายฟันจริง การทำความสะอาดที่ไม่ดีอาจทำให้ฟันข้างเคียงหรือฟันที่ถูกครอบไปแล้วผุได้
- ขั้นตอนการทำ ใช้ระยะเวลายาวนานกว่ามาก ในกรณีทำรากฟันเทียม

ข้อดีของฟันปลอม
- ทดแทนฟันที่สูญเสีย: ช่วยให้สามารถเคี้ยวอาหาร พูดคุย และแสดงรอยยิ้มได้อย่างมั่นใจ
- ปรับปรุงการย่อยอาหาร: การเคี้ยวอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น
- เพิ่มความมั่นใจ: รอยยิ้มที่สวยงาม ช่วยให้รู้สึกมั่นใจในตัวเองมากขึ้น
- เสริมสร้างบุคลิกภาพ: ฟันที่เรียงสวย ช่วยเสริมบุคลิกภาพให้ดูดี
- ป้องกันปัญหาช่องปาก: ฟันปลอมช่วยป้องกันปัญหาช่องปากที่อาจเกิดขึ้นจากการสูญเสียฟัน เช่น ฟันล้ม เหงือกยุบ
ข้อเสียของฟันปลอม
- ราคา: ฟันปลอมบางประเภทมีราคาค่อนข้างสูง
- ความรู้สึกไม่เหมือนฟันธรรมชาติ: ในช่วงแรกอาจรู้สึกเคอะเขิน พูดลำบาก หรือเคี้ยวอาหารยาก
- ต้องดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ: ต้องทำความสะอาดฟันปลอมเป็นประจำ และไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสอบสภาพฟันปลอม
- อาจเกิดปัญหาเหงือกอักเสบ: หากไม่ดูแลรักษาฟันปลอมอย่างถูกวิธี อาจเกิดปัญหาเหงือกอักเสบได้

การดูแลรักษาฟันปลอม
- ทำความสะอาดฟันปลอมทุกวัน: แปรงฟันปลอมด้วยแปรงขนนุ่ม และใช้ยาสีฟันสำหรับฟันปลอมโดยเฉพาะ
- แช่ฟันปลอมในน้ำยาทำความสะอาด: แช่ฟันปลอมในน้ำยาทำความสะอาดฟันปลอม เป็นเวลา 8 – 10 ชั่วโมงทุกคืน
- เก็บฟันปลอมในกล่อง: เมื่อไม่ใช้งาน ให้แช่น้ำสะอาด หรือให้เก็บฟันปลอมในกล่องกรณีเดินทาง

ขั้นตอนในการทำฟันปลอม โดยจะมากน้อยขึ้นกับจำนวนและตำแหน่งฟันที่หายไป
นัดหมายครั้งที่ 1 ทันตแพทย์จะทำการตรวจช่องปากและพิมพ์ฟันเพื่อนำไปวิเคราะห์วางแผนการรักษา
นัดหมายครั้งที่ 2 ในกรณีฟันปลอมถอดได้ฐานพลาสติคที่ใส่น้อยซี่ เช่น 1-2ซี่ จะสามรถลองฟันปลอมตัวจริงได้เลย
ในกรณีฟันปลอมถอดได้ทั้งปาก จะเป็นการพิมพ์กล้ามเนื้อเพื่อสร้างขอบเขตของฟันปลอมที่ชัดเจน
กรณีฟันปลอมฐานโลหะ จะเป็นในการลองโครงโลหะ
นัดหมายครั้งที่ 3 ในส่วนของฟันปลอมฐานโลหะและฟันปลอมทั้งปาก จะเป็นการบันทึกการกัดเพื่อนำไปใช้ในการเรียงฟัน
นัดหมายครั้งที่ 4 ในทั้ง 2แบบ คือการลองฟัน เพื่อตรวจดูการกัด ความสวยงาม และการออกเสียงของคนไข้
นัดหมายครั้งที่ 5 เป็นการลองฟันปลอมตัวจริง
นัดหมายครั้งที่ 6 นัดเพื่อติดตามตรวจการใช้งาน
FAQ คำถามที่คนมักสงสัยเกี่ยวกับฟันปลอม
ราคาฟันปลอมขึ้นอยู่กับประเภทของฟันปลอม วัสดุที่ใช้ จำนวนฟันที่สูญเสีย โดยรากเทียมจะมีราคาสูง แต่ใช้งานได้ดีกว่า (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมหน้าหลัก รากฟันเทียม)
ฟันปลอมที่ดีที่สุดสำหรับคุณ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น จำนวนฟันที่สูญเสีย สุขภาพช่องปาก งบประมาณ และความต้องการของผู้ใช้ ควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อเลือกฟันปลอมที่เหมาะกับคุณมากที่สุด
ในช่วงแรกอาจพบการเจ็บจากฟันปลอมที่กดสันเหงือกหรือเนื้อเยื่อในปากได้เป็นปกติ โดยเฉพาะการทดแทนฟันหลายซี่ หรือฟันปลอมทั้งปาก ต้องมีการนัดตามกากรรักษาและปรับแก้ฟันปลอมเพื่อลดจุดกดเจ็บ
- ทำความสะอาดฟันปลอมทุกวัน แปรงฟันปลอมด้วยแปรงขนนุ่ม และใช้ยาสีฟันสำหรับฟันปลอมโดยเฉพาะ
- แช่ฟันปลอมในน้ำยาทำความสะอาด แช่ฟันปลอมในน้ำยาทำความสะอาดฟันปลอม เป็นเวลา 8 – 10 ชั่วโมงทุกคืน
- เก็บฟันปลอมในกล่องที่ปิดมิดชิด เมื่อไม่ใช้งาน
- ไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสอบสภาพฟันปลอมเป็นประจำ ทุกๆ 6 เดือน
ฟันปลอมมีอายุการใช้งานโดยเฉลี่ยประมาณ 5 – 10 ปี ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา หากดูแลรักษาอย่างถูกวิธี ฟันปลอมสามารถใช้งานได้นานกว่านี้ และในฟันปลอมติดแน่นอย่าง รากฟันเทียม อาจอยู่ได้ยาวนานหลายสิบปี
หากฟันปลอมหลุด ควรล้างด้วยน้ำสะอาด ใส่กลับเข้าไปในปาก และกัดเบาๆ หากใส่กลับเข้าไปในปากไม่ได้ ควรไปพบทันตแพทย์
- ทำความสะอาดฟันปลอมทุกวัน แปรงฟันปลอมด้วยแปรงขนนุ่ม และใช้ยาสีฟันสำหรับฟันปลอมโดยเฉพาะ
- แช่ฟันปลอมในน้ำยาทำความสะอาด แช่ฟันปลอมในน้ำยาทำความสะอาดฟันปลอม เป็นเวลา 8 – 10 ชั่วโมงทุกคืน
- เก็บฟันปลอมในกล่องที่ปิดมิดชิด ร่วมกับแช่น้ำสะอาด เมื่อไม่ใช้งาน
- ไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสอบสภาพฟันปลอมเป็นประจำ ทุกๆ 6 เดือน
หลังใส่ฟันปลอมใหม่ๆ ควรทานอาหารอ่อนๆ เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก ซุป หลีกเลี่ยงอาหารแข็ง เหนียว หรืออาหารที่มีก้าง เมื่อคุ้นเคยกับฟันปลอมแล้ว สามารถทานอาหารได้ตามปกติ
หากฟันปลอมหลุดลงคอ ควรไปพบแพทย์ทันที ไม่ควรพยายามล้วงคอเอง
หากฟันปลอมแตก ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อซ่อมแซมหรือเปลี่ยนฟันปลอมใหม่ ไม่ควรซ่อมเองอย่างยิ่ง
หากฟันปลอมบวม เกิดจากการเก็บรักษาที่ผิดวิธี จะต้องทำชิ้นใหม่ มิเช่นนั้น จะทพให้ฟันและการสบฟันผิดรูป
- เศษอาหารติดตามซอกฟันปลอม: เศษอาหารที่ติดตามซอกฟันปลอม เป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรีย ทำให้เกิดกลิ่นเหม็น
- คราบหินปูน: คราบหินปูนบนฟันปลอม เป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรีย ทำให้เกิดกลิ่นเหม็น
- เชื้อรา: เชื้อราในช่องปาก อาจเกาะบนฟันปลอม ทำให้เกิดกลิ่นเหม็น
- การดูแลรักษาฟันปลอมไม่ถูกวิธี: การทำความสะอาดฟันปลอมไม่เพียงพอ หรือการเก็บฟันปลอมที่ไม่ถูกวิธี อาจทำให้เกิดกลิ่นเหม็น
หากฟันปลอมมีคราบหินปูน ควรทำความสะอาดฟันปลอมด้วยแปรงสีฟันและยาสีฟันสำหรับฟันปลอม หรือแช่ฟันปลอมในน้ำยาทำความสะอาดฟันปลอม เป็นเวลา 15 – 30 นาที หรือสามารถมาพบทันแพทย์เพื่อทำความสะอาดเพิ่มเติมได้
ฟันปลอมสามารถใช้ได้ในทุกวัยที่พบปัญหามีช่องว่างจากการสูญเสียฟัน
จริงบางส่วน ในช่วงแรกที่ยังไม่ชิน แต่เมื่อใส่จนเคยชินแล้วก็ทำให้ออกเสียงได้สะดวกขึ้น
ฟันปลอมเบิกประกันสังคมได้หากคุณมีประกันสังคมในมาตราที่ 33, 39 และส่งเงินสบทบเข้ากองทุนครบ 3 เดือนในระยะเวลา 15 เดือน คุณสามารถเบิกค่าทำฟันปลอมกับสำนักงานประกันสังคมได้

การรักษาและการบริการ : ทันตกรรมประดิษฐ์ (ฟันปลอมติดแน่น ฟันปลอมถอดได้ ครอบฟัน ครอบฟันบนรากเทียม)
ปริญญาเอก Ph.D in Dental science (Fixed Prosthodontics) Tokyo Medical and Dental University, Japan
ปริญญาตรี ทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 1) มศว
ประวัติการทำงาน
- อาจารย์ประจำสาขาทันตกรรมประดิษฐ์ ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์ และทันตกรรมประดิษฐ์ มศว
- ทันตแพทย์เฉพาะทางรากฟันเทียมประจำโรงพยาบาลเอกชนและคลินิคเอกชนชั้นนำ